เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ยสฺส ชิตํ นาวชิยติ ความว่า
กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว
ด้วยมรรคนั้น ๆ อันพระองค์ ย่อมไม่กลับแพ้ คือชื่อว่าชนะแล้วไม่ดี
หามิได้ เพราะไม่กลับฟุ้งขึ้นอีก.
บทว่า โนยาติ ตัดเป็น น อุยฺยาติ แปลว่า ย่อมไม่ไปตาม.
อธิบายว่า บรรดากิเลสมีราคะเป็นต้น แม้กิเลสอย่างหนึ่งไร ๆ ในโลก
ชื่อว่ากลับไปข้างหลังไม่มี คือไม่มีความกิเลสชาตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ใดทรงชนะแล้ว.1
บทว่า อนนฺคโคจรํ ความว่า ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ด้วยสามารถ
แห่งพระสัพพัญญุตญาณ มีอารมณ์หาที่สุดมิได้.
สองบทว่า เกน ปเทน เป็นต้น ความว่า บรรดารอยมีรอย คือ
ราคะเป็นต้น แม้รอยหนึ่ง ไม่มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด, พวก
เจ้าจักนำพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นไป ด้วยร่องรอยอะไร คือ ก็
แม้ร่องรอยสักอย่างหนึ่ง ไม่มีแก่พระพุทธเจ้า, พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้า
นั้น ผู้ไม่มีร่องรอยไป ด้วยร่องรอยอะไร ?
วินิจฉัยในคาถาที่สอง. ขึ้นชื่อว่าตัณหานั่น ชื่อว่า ชาลินี เพราะ
วิเคราะห์ว่า มีข่ายบ้าง มีปกติทำซึ่งข่ายบ้าง เปรียบด้วยข่ายบ้าง เพราะ
อรรถว่า รวบรัดตรึงตราผูกมัดไว้, ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะเป็นธรรม-
ชาติมักซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น เพราะเปรียบด้วยอาหาร
อันมีพิษ เพราะเปรียบด้วยดอกไม้มีพิษ เพราะเปรียบด้วยผลไม้มีพิษ
1. กิเลสเหล่าอื่น ติดตานกิเลสที่ทรงชนะแล้วเนื่องกันเป็นสาย ๆ ไม่มี.